ข้อมูลห้องสมุด

การเข้าใช้ห้องสมุด

Q:   ห้องสมุดอยู่ที่ไหน 

  A:  สำนักบรรณสารการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ตั้งอยู่ที่ชั้น 2-4
        อาคารบุญชนะ อัตถากร (อาคารอเนกประสงค์)

Q:  ห้องสมุดเปิด-ปิดเวลาใด 

  A:  จันทร์-ศุกร์ เปิด 8.00 - 19.30 น. 

        เสาร์ อาทิตย์ และ วันหยุดชดเชย เปิด 8.00 - 21.00 น.

Q:  ใครเข้าใช้ห้องสมุดได้บ้าง  

  A:  

1. อาจารย์ นักศึกษา ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ และพนักงานของสถาบัน

2. บุคคลภายนอก

Q:  บุคคลภายนอกเข้ามาใช้ห้องสมุดได้หรือไม่  

  A:  ได้ โดยชำระค่าธรรมเนียมเข้าใช้ วันละ 30 บาท หรือสมัครเป็นสมาชิกรายปี

 

Q:  ศิษย์เก่าของสถาบันเข้าใช้ห้องสมุดได้หรือไม่  

  A:

ได้ ติดต่อขอทำบัตรสมาชิกที่เคาน์เตอร์สมาชิกห้องสมุด ซึ่งศิษย์เก่ามีสิทธิเข้าใช้ห้องสมุด 
โดยมีค่าธรรมเนียมเข้าใช้ตลอดชีพ 1,000 บาท
หลักฐานที่ต้องนำมาแสดง คือ 
รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว 2 รูป 
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาทะเบียนบ้าน 
สำเนาใบปริญญาบัตร หรือ Transcript หรือ บัตรสมาชิกศิษย์เก่าสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (ไม่รับบัตรสมาชิกศิษย์เก่าของคณะ) 
หากต้องการยืมทรัพยากรสารสนเทศ ต้องเสียค่าประกัน 2,500 บาท

 

Q:  นักศึกษาทำบัตรห้องสมุดได้ที่ไหน ต้องใช้รูปหรือหลักฐานอะไรบ้าง  

  A:

นักศึกษาสามารถใช้บัตรประจำตัวนักศึกษาเป็นบัตรสมาชิกห้องสมุดได้เลย 
หลักฐานที่ต้องนำมาแสดง คือ
ใบเสร็จรับเงินหรือใบโอนเงินการลงทะเบียนผ่านธนาคารภาคการศึกษาปัจจุบัน 
ต้องต่ออายุสมาชิกทุกภาคการศึกษา

 

Q:  การต่ออายุบัตรสมาชิกห้องสมุด ทำอย่างไร

  A:

นักศึกษาต้องนำใบเสร็จรับเงินหรือใบโอนเงินการลงทะเบียนผ่านธนาคารภาคการศึกษาปัจจุบัน 
มาติดต่อที่เคาน์เตอร์สมาชิกห้องสมุดทุกภาคการศึกษา ยกเว้นภาคฤดูร้อนเพราะรวมอยู่กับภาค 2 แล้ว

Q:  ถ้าบัตรนักศึกษาหาย ควรทำอย่างไร 

  A:

ให้ติดต่องานบริการทันที หรือโทรศัพท์แจ้ง  0 2727 3741 หรืออีเมล  This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. 
เพื่อระงับสิทธิการใช้ห้องสมุดและการยืม เพราะอาจมีผู้อื่นนำบัตรมายืมหนังสือแทน

Q:  การเข้าใช้ห้องสมุด ควรแต่งกายอยางไร

  A:   การเข้าใช้ห้องสมุด ควรแต่งกายสุภาพ เรียบร้อย เพราะเป็นสถาบันการศึกษาของรัฐ

 

Q:  สามารถนำน้ำและอาหารเข้ามาในห้องสมุดได้หรือไม่ 

  A: 

ไม่อนุญาตให้นำน้ำหรืออาหารเข้ามาในห้องสมุด เนื่องจากทำให้เกิดปัญหาความชื้นและเชื้อรา 
ประกอบกับเศษอาหารจะทำให้มีมด หนู และแมลง ซึ่งจะทำความเสียหายให้ทรัพยากรของห้องสมุด 
แต่ทั้งนี้ห้องสมุดได้จัดตั้งเครื่องบริการน้ำดื่มไว้ให้บริการเป็นจุด ตามแต่ละชั้น เพื่ออำนวยความสะดวกแล้ว

 

Q:  นำเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในห้องสมุดได้หรือไม่  

  A:

สถาบันฯอนุญาตให้เฉพาะนักศึกษานำคอมพิวเตอร์เฉพาะโน๊ตบุ้คเข้ามาใช้ในห้องสมุดได้เท่านั้น 
เพื่อความสะดวกในการบันทึกข้อมูล เพื่อประกอบการเรียนการสอน การค้นคว้าวิจัย

 

Q:  นำเครื่องพิมพ์ (printer) เข้ามาใช้ในห้องสมุดได้หรือไม่  

A:  ห้องสมุดไม่อนุญาตให้นำเครื่องพิมพ์เข้ามาใช้ในห้องสมุด เพื่อป้องกันเรื่องเสียงดัง และประหยัดพลังงานไฟฟ้าให้กับสถาบัน

Q:  นำแผ่นอุปกรณ์บันทึกของตนเข้ามาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของห้องสมุดได้หรือไม่  

  A:  ได้

 

การยืม - คืน

Q:   สมาชิกห้องสมุดสามารถยืมอะไรได้บ้าง และต้องทำอย่างไร

  A:   ดูจากระเบียบการยืม และติดต่อยืมได้ที่ห้องสมุด

Q:   ใครมีสิทธิยืมหนังสือ

  A: 

1.สมาชิกของสถาบัน ที่ลงทะเบียนเป็นสมาชิกห้องสมุด
2.บุคคลภายนอกที่สมัครเป็นสมาชิกประเภทจ่ายเงินค่าประกันหนังสือ
3.การยืมผ่านบริการยืมระหว่างห้องสมุด

 

Q:   ยืมหนังสือได้ครั้งละกี่เล่ม นานเท่าไร 

  A:   ดูจากระเบียบการยืม

Q:   วารสารยืมได้หรือไม่ครั้งละกี่วัน 

  A:  ให้ใช้วารสารได้ภายในห้องสมุดเท่านั้น ไม่อนุญาตให้ยืมออก

Q:   จะจองหนังสือที่มีผู้ยืมออกไปแล้วได้หรือไม่ 

  A:  ได้ โดยจดเลขเรียกหนังสือ และติดต่อโดยตรงที่บริการยืมค้น หรือ Request copy จาก OPAC

Q:   ยืมหนังสือต่อทางโทรศัพท์ได้หรือไม่  

  A:  ไม่อนุญาตให้นักศึกษายืมหนังสือต่อทางโทรศัพท์

Q:   จะทราบได้อย่างไรว่ายืมหนังสือไปแล้วกี่เล่ม และชื่ออะไรบ้าง กำหนดส่งเมื่อไร   

  A:

ดูที่ระบบสืบค้นข้อมูลของห้องสมุด โดย
- เลือก Borrorwer Information
- พิมพ์หมายเลข ID รหัส PIN
- เลือก CHECKED OUT 
จะปรากฎรายการหนังสือที่ยืมออก และวันครบกำหนดส่งคืน 

 

Q:   ห้องสมุดมีตู้รับคืนหนังสือนอกเวลาหรือไม่   

  A:    มี ด้านหน้าของตึกอเนกประสงค์ ชั้น L

Q:   ห้องสมุดมีหนังสือแจ้งเตือน/ ทวง หนังสือที่ครบกำหนดส่ง/ เกินกำหนดส่งหรือไม่ 

  A:

ไม่ เพราะถือว่าเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของนักศึกษาที่ต้องคืนหนังสือตามกำหนด 
เพื่อให้ทรัพยากรสารสนเทศได้มีการกระจายและใช้อย่างทั่วถึง 
ดังนั้นนักศึกษาควร ตรวจสอบรายการหนังสือค้างส่ง ของตนเองอยู่เสมอ

Q:   จะขอยืมหนังสือจากห้องสมุดอื่น ต้องทำอย่างไร  

  A:  โปรดตรวจสอบระเบียบการยืมระหว่างห้องสมุด หรือติดต่อบรรณารักษ์ ณ โต๊ะบริการสารสนเทศ ชั้น 2

Q:   ถ้าห้องสมุดไม่มีหนังสือประกอบการเรียน ควรทำอย่างไร  

  A:   ติดต่อขอใช้บริการยืมระหว่างห้องสมุด ได้ที่บรรณารักษ์บริการสารสนเทศหรือเสนอแนะให้ห้องสมุดซื้อ

 

บริการ

Q:   ห้องสมุดมีห้องสำหรับให้นักศึกษาใช้เป็นกลุ่มหรือไม่

  A:

ห้องสมุดจัดห้องให้นักศึกษาเป็นกลุ่มเพื่อใช้ในการศึกษาค้นคว้า ที่บริเวณชั้น 3-4 
ติดต่อขอใช้ห้องได้ที่เคาน์เตอร์บริการห้องค้นคว้าชั้น 3

Q:   นักศึกษาสามารถจองใช้ห้องค้นคว้าล่วงหน้าได้หรือไม่

  A:  เนื่องจากห้องมีจำนวนจำกัด จึงไม่อนุญาตให้จองล่วงหน้า

Q:   มีบริการถ่ายเอกสารในห้องสมุดหรือไม่

  A:  ห้องถ่ายเอกสารอยู่ที่ชั้น 3

Q:   การเขียนบรรณานุกรม เขียนอย่างไร 

  A:  

1. ศึกษาจากคู่มือของสถาบัน
2. ถามบรรณารักษ์บริการสารสนเทศ
3. ห้องสมุดจะประสานงานกับคณะ/สำนัก เพื่อจัดฝึกอบรมตามความต้องการของผู้ใช้บริการ

 

Q:   ห้องสมุดมีคู่มือการใช้บริการห้องสมุดหรือไม่ 

  A:  มี ขอได้ที่เคาน์เตอร์บริการยืมคืน และที่บรรณารักษ์บริการสารสนเทศ

 

Q:   มีบริการสอนวิธีการสืบค้นข้อมูลหรือไม่ 

  A:  มี สามารถใช้บริการได้โดย

1. นักศึกษาสามารถรวมกลุ่มกันประมาณ 5 คน เพื่อให้ห้องสมุดจัดบรรยายวิธีการสืบค้นข้อมูล โดยกำหนดนัดหมายตามวัน เวลา
2. อาจารย์สามารถติดต่อห้องสมุด ให้ส่งวิทยากรไปบรรยายในชั้นเรียน
3. ห้องสมุดจัดโครงการฝึกอบรมเรื่องการค้นข้อมูล และประชาสัมพันธ์ให้ทราบเป็นระยะ
4. กรณีนักศึกษามีปัญหาในการสืบค้นข้อมูล สามารถติดต่อบรรณารักษ์บริการสารสนเทศได้ทันที

 

Q:   มีบริการนำชมห้องสมุดหรือไม่  

  A:  สามารถชมห้องสมุดได้ 2 วิธี 

1. ดูที่เว็บ ในส่วนนำชมห้องสมุด
2. มาลงชื่อ ขอใช้บริการนำชมห้องสมุดได้ที่โต๊ะบรรณารักษ์บริการสารสนเทศ ชั้น 2

 

 

ค่าปรับ

Q:  ห้องสมุดจะดำเนินการอย่างไร ถ้าผู้ใช้คืนหนังสือในตู้รับคืนนอกเวลา และมีค่าปรับค้าง หรือมีหนังสือค้างส่ง  

  A: 

- ไม่อนุญาตให้ยืมหนังสืออีก จนกว่าจะชำระเงินค่าปรับ
- ถ้าจำนวนเงินค่าปรับหนังสือค้างส่งเกิน 500 บาท ระบบจะไม่อนุญาตให้ยืมหนังสืออีก จนกว่าจะชำระเงินค่าปรับ
- กรณีที่จบการศึกษา ห้องสมุดจะแจ้งให้กองบริการการศึกษาระงับการขออนุมัติปริญญา จนกว่าจะคืนหนังสือ และชำระเงินค่าปรับ

 

Q:   ห้องสมุดคิดเงินค่าปรับอย่างไร ถ้าไม่คืนหนังสือตามกำหนด 

  A:   ดูจากระเบียบการยืม

 

Q:   วันเสาร์ อาทิตย์ คิดเงินค่าปรับหนังสือหรือไม่ 

  A: 

ห้องสมุดคิดเงินค่าปรับตามวันที่ห้องสมุดเปิดทำการ เนื่องจากห้องสมุดเปิดบริการวันเสาร์และอาทิตย์ จึงคิดค่าปรับหนังสือ และคิดเงินค่าปรับในวันปิดห้องสมุดด้วย เพื่อรักษาสิทธิ์ให้กับผู้ที่จองหนังสือ เพราะหากไม่คิดเงินในวันหยุด จะมีการใช้ประโยชน์ในช่วงวันหยุด ทำให้ผู้จองไม่ได้ใช้หนังสือตามสิทธิ์ที่ควรจะได้รับ

 

 

การค้น

Q:   มีบริการสอนการสืบค้นข้อมูลหรือไม่  

  A:  มี สามารถใช้บริการได้โดย

1. นักศึกษาสามารถรวมกลุ่มกันประมาณ 5 คน เพื่อให้ห้องสมุดจัดบรรยายวิธีการสืบค้นข้อมูล โดยกำหนดนัดหมายตามวัน เวลา
2. อาจารย์สามารถติดต่อห้องสมุด ให้ส่งวิทยากรไปบรรยายในชั้นเรียน
3. ห้องสมุดจัดโครงการฝึกอบรมเรื่องการค้นข้อมูล และประชาสัมพันธ์ให้ทราบเป็นระยะ
4. กรณีนักศึกษามีปัญหาในการสืบค้นข้อมูล สามารถติดต่อบรรณารักษ์บริการสารสนเทศได้ทันที

 

Q:   OPAC คืออะไร 

  A:  Online Pubilc Access Catalog หมายถึง ฐานข้อมูลรายชื่อเอกสารที่มีในห้องสมุดสามารถสืบค้นผ่านทาง internet ได้ 

 

Q:   สามารถค้นข้อมูลรายชื่อเอกสารโดยไม่ต้องมาที่ห้องสมุดได้อย่างไร  

  A:

- เข้า Library home page ที่  library.nida.ac.th
- เลือกสืบค้นข้อมูล

 

Q:   หาหนังสือ/เอกสารที่มีในห้องสมุดได้อย่างไร 

  A:

สืบค้นจาก ระบบสืบค้นข้อมูลของห้องสมุด โดย
- ดูเมนู และเลือกค้นจากทางเลือกที่ต้องการ เช่น ผู้แต่ง (Author) หัวเรื่อง (Subject) ชื่อเรื่อง (Title) คำสำคัญ (Words) ฯลฯ
- เมื่อได้ผลการค้นแล้ว ให้สังเกดว่าหนังสือจัดเก็บที่ชั้นใด (Location) สถานภาพ (Status) และจดเลขเรียกหนังสือ (Call#) เพื่อไปหาหนังสือบนชั้น ตัวอย่าง
Book Shelves,FL.3  HC 445 ก27อว On Shelf 
  หมายถึงหนังสือจัดเก็บอยู่ที่ชั้นหนังสือทั่วไป ชั้น 3 
  เลขเรียกหนังสือคือ HC 445 ก27อว 
  สถานภาพ หนังสืออยู่บนชั้น ไม่มีผู้ยืมออก ถ้าเป็น Due ตามด้วยวันที่ เดือน ปี หมายถึง หนังสือมีผู้ยืมออก และแจ้งวันกำหนดส่ง 
ตัวอย่าง DUE 17-03-11 หมายถึงหนังสือเล่มนี้มีผู้ยืมออกครบกำหนดส่งคืน วันที่ 17 มีนาคม 2548

 

Q:   ค้นรายการหนังสือที่อาจารย์ให้อ่านได้อย่างไร 

  A:

ค้นได้จาก ระบบสืบค้นข้อมูลของห้องสมุด (OPAC) 
**กรณีที่เป็นหนังสือ เลือก Catalog Search, Alphabetical
- ถ้าทราบชื่อผู้แต่ง ให้ใช้ทางเลือก AUTHOR browse และพิมพ์ชื่อผู้แต่ง (ชาวต่างชาติให้พิมพ์นามสกุลก่อน ตามด้วยชื่อ)
- ถ้าทราบชื่อหนังสือ ให้ใช้ทางเลือก TITLE browse และพิมพ์ชื่อ หนังสือ
**กรณีที่เป็นบทความจากวารสาร
- ให้ตรวจสอบดูว่าห้องสมุดมีวารสารนั้นหรือไม่ โดยใช้ทางเลือก Title browse (ชื่อเรื่อง) และพิมพ์ชื่อวารสารที่ต้องการทราบ

 

Q:   ห้องสมุดมีรายชื่อหนังสือใหม่หรือไม่ 

  A:

มี ห้องสมุดจัดทำรายชื่อหนังสือใหม่ประจำทุกเดือน ดู ได้ที่ New Books ของหน้าจอ OPAC หรือเข้าผ่านหน้าเว็บไซต์ห้องสมุด ที่เมนู  บริการ > สืบค้นข้อมูล > รายการหนังสือใหม่

 

Q:   ทำไมหนังสือไม่อยู่บนชั้น ทั้ง ๆ ที่ไม่มีใครยืมออก (สถานภาพเป็น On Shelf) 

  A:  ในขณะนั้นอาจมีผู้กำลังใช้อยู่ภายในห้องสมุด โปรดแจ้งเจ้าหน้าที่ห้องสุมด เพื่อให้ช่วยตรวจสอบอีกครั้ง

 

Q:   ถ้าสืบค้นหนังสือจากระบบสืบค้นข้อมูลของห้องสมุดได้แล้ว แต่ไม่มีเลขหมู่หนังสือปรากฎ ควรทำอย่างไร 

  A:

 ให้สังเกตว่ามีข้อความใดปรากฎ เช่น
- In process หมายถึง กำลังอยู่ระหว่างเตรียมออกให้บริการ ถ้าต้องการใช้หนังสือด่วน ให้ติดต่อบรรณารักษ์บริการสารสนเทศ
- In Catalog หมายถึง กำลังอยู่ระหว่างเตรียมให้เลขหมู่หนังสือ ถ้าต้องการใช้หนังสือด่วน ให้ติดต่อบรรณารักษ์บริการสารสนเทศ
- In Repair หมายถึง หนังสือกำลังอยู่ระหว่างการซ่อม ถ้าต้องการใช้หนังสือด่วน ให้ติดต่อบรรณารักษ์บริการสารสนเทศ หรือเจ้าหน้าที่บริการยืม-คืน

 

Q:   สืบค้นหนังสือที่มีในห้องสมุดอื่นได้หรือไม่ 

  A:  ได้ สืบค้น ได้ที่ แหล่งข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต หรือค้นที่ สหบรรณานุกรม (Union Catalog)

 

Q:   ต้องการค้นเฉพาะวิทยานิพนธ์จะทำอย่างไร 

  A:

 สืบค้นจาก keyword ของระบบสืบค้นข้อมูลห้องสมุด โดยจำกัดประเภทของวัสดุ เป็น Mat. Type : NIDA Thesis หรือ Mat. Type : Thesis

 

Q:   ห้องสมุดมีวีดีโอ และซีดีรอมหรือไม่

  A:

มีวีดิโอ และซีดีรอมเพื่อการศึกษา
-  ยืมได้ที่เคาน์เตอร์บริการยืม-คืน ชั้น 2

 

Q:   ค้นโสตทัศนวัสดุได้อย่างไร

  A:

สืบค้นจาก ระบบสืบค้นข้อมูลของห้องสมุด ได้ 2 วิธี คือ
วิธีที่ 1
- เลือก Alphabetical
- เลือก Local Call Number
- พิมพ์คำว่า VC ถ้าต้องการทราบรายชื่อวีดีโอ หรือ พิมพ์คำว่า TC ถ้าต้องการทราบรายชื่อเทปบันทึกเสียง
วิธีที่ 2
- เลือก Alphabetical
- เลือก Subject Browse (หัวเรื่อง)
- พิมพ์คำว่า โสตทัศนวัสดุ ถ้าต้องการทราบรายการโสตทัศนวัสดุ หรือ พิมพ์คำว่า วีดิทัศน์ ถ้าต้องการทราบรายชื่อวีดิทัศน์

 

Q:   ทราบได้อย่างไรว่าห้องสมุดมีวารสารที่ต้องการหรือไม่

  A:

- ให้ตรวจสอบดูว่าห้องสมุดมีวารสารนั้นหรือไม่ จาก ระบบสืบค้นข้อมูลของห้องสมุด โดยใช้ทางเลือก Catalog Search, Alphabetical, Title Browse (ชื่อเรื่อง) และพิมพ์ชื่อวารสารที่ต้องการทราบ

 

Q:   ค้นตัวเล่มวารสารได้ที่ไหน อย่างไร

  A:   วารสารปีปัจจุบัน จัดเรียงตามลำดับอักษรของชื่อวารสารอยู่บริเวณชั้น 2

วารสารปีก่อนหน้านั้น จัดเก็บเป็นวารสารเย็บเล่ม ภาษาไทยจัดเก็บอยู่ที่ชั้น 3 ภาษาอังกฤษจัดเก็บอยู่ที่ชั้น 4

 

Q:   หาบทความวารสารได้อย่างไร

  A: 

-  บทความภาษาไทยสืบค้นได้จากระบบสืบค้นข้อมูลของห้องสมุด (OPAC) โดยใช้ทางเลือก Journal Index 
  (ฐานข้อมูลดรรชนีวารสารและหนังสือพิมพ์)
-  บทความภาษาอังกฤษ สืบค้นได้จากเว็บไซต์ห้องสมุด ในส่วนฐานข้อมูลออนไลน์ที่ห้องบริการสืบค้นสารสนเทศ ชั้น 2  หรือคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายของสถาบัน หรือที่บ้าน โดยใช้ account number ที่นิด้าออกให้

 

Q:   ห้องสมุดมีวารสารอะไรบ้าง

  A:  ดูที่เว็บไซต์ของห้องสมุด สืบค้นข้อมูล เลือก วารสารไทย หรือ วารสารภาษาอังกฤษ

 

Q:   ถ้าวารสารที่ต้องการไม่มีในห้องสมุดจะหาได้จากที่ไหน

  A:   สามารถตรวจสอบดูว่ามีที่ห้องสมุดใดในประเทศไทย จากฐานข้อมูลของ Journal Link(www.journallink.or.th)

 

Q:   จะดูสารบัญวารสารที่ไม่มีในห้องสมุดได้อย่างไร

  A:

1. ดูได้จากฐานข้อมูลต่างประเทศ www.ingenta.com และเลือก Browse publications
2. ดูได้จากเว็บไซต์ของสำนักพิมพ์หรือหน่วยงานที่ผลิตวารสาร

 

Q:   ค้นหนังสือพิมพ์ได้อย่างไร 

  A:

หนังสือพิมพ์ฉบับปัจจุบัน จัดเก็บที่ชั้น 2 (หนังสือพิมพ์ที่เป็นวิชาการจัดเก็บ 2 เดือน ทั่วไปจัดเก็บ 1 เดือน) 
หนังสือพิมพ์เก่า (ปีพ.ศ.2545 - ปัจจุบัน) สามารถสืบค้นได้จากฐานข้อมูลกฤตภาค (Clipping)

 

Q:   ห้องสมุดมีฐานข้อมูลของต่างประเทศได้หรือไม่ 

  A:  มี สืบค้นได้จากเว็บไซต์ของห้องสมุด

- เลือก สืบค้นข้อมูล 
- เลือกฐานข้อมูลต่างๆที่ต้องการ ตรงฐานข้อมูลออนไลน์

 

Q:   ใช้หนังสือเสร็จแล้ว ต้องเก็บขึ้นชั้นหรือไม่  

  A:  ไม่ต้องเก็บขึ้นชั้น แต่กรุณาเก็บที่ชั้นพักหนังสือที่เตรียมไว้ให้แต่ละชั้น

 

การติดต่อ

 

Q:   จะส่งข้อเสนอแนะให้ห้องสมุดได้อย่างไร 

  A:   สามารถเสนอแนะได้ 4 วิธี ดังนี้

1. ส่งข้อเสนอแนะในตู้เสนอแนะ บริเวณใกล้ทางเข้าออกของห้องสมุด
2. ส่ง email ไปที่  This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. หรือ  This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
3. เสนอแนะได้ที่บรรณารักษ์ ณ โต๊ะบริการสนเทศ ชั้น 2
4. กระดานข่าว (Web Board) ติชมห้องสมุด

 

Q:   ต้องการให้ห้องสมุดซื้อหนังสือหรือวารสารจะทำอย่างไร  

  A:   เขียนชื่อหนังสือ หรือวารสาร และรายละเอียดต่าง ๆ ที่ทราบ เช่น ผู้แต่ง สำนักพิมพ์ หมายเลข ISBN/ISSN ฯลฯ และเสนอแนะได้ 4 วิธีดังนี้

1. ส่งข้อเสนอแนะในตู้เสนอแนะ บริเวณใกล้ทางเข้าออกของห้องสมุด
2. เสนอแนะในระบบสืบค้นข้อมูลของห้องสมุด ในหัวข้อ Book Request 
3. ส่ง email ไปที่  This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. 
4. เสนอแนะได้ที่บรรณารักษ์บริการสารสนเทศ

 

Q:   มีปัญหาเกี่ยวกับการใช้ห้องสมุด จะถามใคร 

  A:  

1. ติดต่อบรรณารักษ์บริการสารสนเทศ ชั้น 2

2. โทรศัพท์ไปที่    0-2727-3737,   0-2377-5481 โทรสาร   0-2374-0748
3. email ไปที่  This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

 

Q:   จะบริจาคหนังสือให้ห้องสมุด ได้อย่างไร  

  A:   บริจาคได้ที่งานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ชั้น 6 อาคารบุญชนะ  อัตถากร  ในเวลาราชการ หรือที่เคาน์เตอร์บริการยืม-คืน ชั้น 2 ในเวลาที่ห้องสมุดเปิดทำการ

 

 

 

ฐานข้อมูลออนไลน์

การบริการฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสืบค้น (Reference Database)

เป็นการให้บริการการสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์ในต่างประเทศเพื่อการใช้ทรัพยากร ตามเกณฑ์มาตรฐานเดียวกัน และเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศตลอดจนเอกสารฉบับเต็มได้สะดวก รวดเร็ว ผ่านเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา UniNet (สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา) ซึ่งฐานข้อมูลที่ให้บริการ ประกอบด้วย ฐานข้อมูลอ้างอิง (Reference Database) 

ฐานข้อมูลจัดซื้อโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา  ได้แก่

ชื่อฐานข้อมูล

รายละเอียด

ระยะเวลา

Title List

Academic Search Ultimate

ฐานข้อมูลสหสาขาวิชาระดับโลกที่มีขนาดใหญ่ รวบรวมวารสารทางวิชาการ นิตยสาร สิ่งพิมพ์ และวีดีโอ ในทุกสาขาวิชาการศึกษา อาทิเช่น วิศวกรรมศาสตร์ ดาราศาสตร์ มานุษย์วิทยา ชีวเวชศาสตร์ สุขภาพ กฎหมาย คณิตศาสตร์ เภสัชวิทยา ศึกษาศาสตร์ สตรีศาสตร์ สัตวศาสตร์ และสาขาอื่นๆอีกมากมาย ฐานข้อมูลนี้เป็นเวอร์ชั่นอัพเกรดของ Academic Search Complete ซึ่งประกอบไปด้วยวารสารฉบับเต็มที่ไม่อยู่ในการเข้าถึงแบบเปิด(non-open access journals)มากกว่า 5,000 ชื่อเรื่อง

1 ม.ค.  – 31 ธ.ค. 65

ACM Digital Library

เป็นฐานข้อมูลทางด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ จากสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง จดหมายข่าว และเอกสารในการประชุมวิชาการที่จัดทำโดย ACM (Association for Computing Machinery) ซึ่งเนื้อหาเอกสารประกอบด้วยข้อมูลที่สำคัญ เช่น รายการบรรณานุกรม สาระสังเขป article reviews และบทความฉบับเต็ม ให้ข้อมูลตั้งแต่ปี 1985 – ปัจจุบัน

1 ม.ค. – 31 ธ.ค. 65

American Chemical Society Journal (ACS)

เป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมบทความ และงานวิจัย จากวารสารทางด้านเคมีและสาขาที่เกี่ยวข้อง โดยรวบรวมจากวารสารทั้งที่พิมพ์เป็นรูปเล่ม วารสารอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Journals) ข้อมูลที่ได้จากการสืบค้นเป็นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) และรูปภาพ (Image) ย้อนหลังตั้งแต่ปี 1996

1 ม.ค.  – 31 ธ.ค. 65

EBSCO Discovery Service (EDS) Plus Full Text

เป็นฐานข้อมูลและบริการสืบค้นเพื่อการยืมคืน ข้อมูลครอบคลุมสหสาขาวิชา เช่น ศึกษาศาสตร์ ครุศาสตร์ ศิลปศาสตร์ นิเทศศาสตร์ วิทยาการจัดการ โดยให้ข้อมูลเอกสารฉบับเต็มของบทความวารสาร (Full text) ไม่น้อยกว่า 1,800 ชื่อเรื่อง โดยมี วารสารฉบับเต็มและบทความฉบับเต็มจากสำนักพิมพ์ต่างๆ อาทิ Wiley (John Wiley & Sons, Inc. / Wiley-Blackwell), Taylor & Francis, Sage Publication เป็นต้น

1 ม.ค.  – 31 ธ.ค. 65

Emerald Management

เป็นฐานข้อมูลที่ครอบคลุมสาขาวิชาทางด้านการจัดการ ได้แก่ การเงินและการบัญชี บริหารธุรกิจ การจัดการและกลยุทธมีดรรชนี หรือสาระสังเขปของบทความจากวารสาร และเอกสารฉบับเต็มของบทความวารสาร (Full text) มากกว่า ๑๐๐ ชื่อ

1 ม.ค. – 31 ธ.ค. 65

IEEE/IET Electronic Library (IEL)

เป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมสารสนเทศจาก Electronics Engineers (IEEE) ประกอบด้วยวารสาร นิตยสาร รายงานความก้าวหน้า เอกสารการประชุม เอกสารมาตรฐานของ IEEE มากกว่า 4,500,000 รายการ

1 ม.ค. – 31 ธ.ค 65

ScienceDirect

เป็นฐานข้อมูลเอกสารฉบับเต็ม (Full-text) ของวารสารมากกว่า 700 ชื่อเรื่อง ครอบคลุม 4 สาขาวิชา ได้แก่ Agricultural and Biological Sciences , Engineering , Immunology & Microbiology and Social Sciences สามารถดูข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่ปี ค. ศ.2010 – ปัจจุบัน

1 ม.ค.  – 31 ธ.ค. 65

SpringerLink – Journal

เป็นฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์สุขภาพ ประกอบด้วยวารสารและเอกสารฉบับเต็มไม่น้อยกว่า 1,130 ชื่อ จากข้อมูลปี 1997 – ปัจจุบัน

1 ม.ค.  – 31 ธ.ค. 65

 

ฐานข้อมูลให้บริการสืบค้นเพิ่มเติมประจำปี พ.ศ. 2565

 

ชื่อฐานข้อมูล

รายละเอียด

ระยะเวลา

Title List

Engineering Source

เป็นฐานข้อมูลออกแบบมาสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมและนักวิจัยด้านวิศวกรรม โดย Collection นี้ของเนื้อหาที่ครอบคลุมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาวิศวกรรมจำนวนมาก เช่น วิศวกรรมการบิน ไฟฟ้า โยธา เครื่องกล สิ่งแวดล้อม ซอฟต์แวร์
• สิ่งพิมพ์ฉบับเต็มไม่น้อยกว่า 1,600 ชื่อเรื่อง
• ดรรชนีและบทคัดย่อของนิตยสาร วารสารและ สิ่งตีพิมพ์ทางวิชาการกว่า 3,000 ชื่อเรื่อง
 
1 ม.ค. – 31 ธ.ค. 65  

 

ฐานข้อมูลจัดซื้อโดยสำนักบรรณสารการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ จำนวน 25 ฐาน ได้แก่

Databases subscribed by the Library and Information Center, NIDA

 

ชื่อฐานข้อมูล

รายละเอียด

ช่วงเวลาให้บริการ

 

1.Business Source Ultimate

 

Access to 2,545 active, full-text, non-open access journals and magazines, 27,000 videos from industry leaders, case studies, country economic reports and company profiles, interviews with executives and analysts.  Subjects include Accounting, Administration, Banking, Economics, Finance, Human resources, Management, Marketing etc.

 

 


1 January 2022 -31 December 2022

 

 

2.CEIC

 

 

 

Access to financial data and economics indicators. Contains

 thousands of sources and millions of series in one place.    Provides the most expansive and accurate data insights into more than 200 economies. With analysts on the ground in more than 18 countries. 

 

 

1 October 2021 – 30 September 2022

 

 

3.China Academic Journals Full-text Database (CJFD)

 

Access to journals in Chinese and English. The library has subscribed H and J collections: H – Education & Social Science which provides access to 2,210 Journals and J – Economics & Management which provides access to 1,293 Journals. CJFD involves all levels of journals. Data coverage 1994-2017.  Most of the journals date back to the first issue. (Simultaneus 5 users)

 

14 January2022 – 13 Januarry 2023

 

4. Communication & Mass Media Complete (CMMC)

 

Access to more than  210 active full-text, non-open access journals in communication and media studies.

 

1 January 2022 - 31 December 2022

 

 

 

5. eBook Academic Collection

 

Access to multidisciplinary collection of thousands of e-books covering a large selection of academic subjects and features e-books from leading publishers and university presses. 

 

October 2021 – September 2022


6. Eikon and Datastream

 

 

A set of software products provided by Refinitiv for financial professionals to monitor and analyze financial information. Eikon provides access to real time market data, news, fundamental data, analytics, trading and messaging tools. It provides data on asset classes including Foreign Exchange, Money Markets, Fixed Income, Equities, Commodities, Funds, and Real Estate. Data coverage back to 10-20 years. (Simultaneus 3 users)



1 October 2021 – 30 September 2022


7. Emerald Premier Plus


Access to over 240 peer-reviewed journals covering the fields of business, management, economics, engineering, computing, technology and social sciences. Emerald management journal collections subscribed are

education; HR, learning and organization studies;  information and knowledge management; library and information sciences; marketing; tourism and hospitality management; operations, logistics and quality; property management and built environment; public policy and environmental management.


 1 January 2022 – 31 December 2022

 

8. EMIS - Company, Industry & Country Research

 

Access to company profiles, analysis for industry sectors in developing countries for emerging markets.

1 October 2021 – 31 March 2022


9. EndNote

 

EndNote is a reference management software that organizes bibliographies and references when writing essays, articles and other manuscripts. The software helps to manage and organize references, insert in-text citations and generate appropriate reference lists.

31 December 2020 – 30 December 2022


10. Hein Online

 

Provides full-text of historical treaties, regulations, presidential, and government documents. Also includes numerous law resources.

 


1 September 2021 – 31 August 2022


11. Hospitality & Tourism Complete

 

Access to full-text journals, magazines, company and country reports, books and newspapers in all areas of hospitality and tourism.  Covers all areas of hospitality and tourism, including hospitality law, market trends, food and beverage management and hotel management. In addition to hundreds of full-text journals, it provides magazines, company and country reports, books and newspapers. Content includes more than 490 full-text publications,  more than 1.4 million records dating back to 1924.


1 January 2022 – 31 December 2022


12. iQNewsClip

 

 

iQNewsClip is an online news clipping service which offers clips of 30 newspapers titles in Thai and English and can be accessed online. iQNewClip offers high-resolution news clips in both black-and-white and color formats. All clips are categorized, and can be easily browsed for a specific one through the full text search function.


  1 October 2021 -    30 September 2022


13. JSTOR (Journal Storage)


Access to archival peer-reviewed journal titles across the humanities, and social sciences.  Journals span continents and languages, with titles from 1,200 publishers from 57countries.  JSTOR subscription of NIDA are following collections 1) Arts & Science I 2) Arts & Science IV 3) Business & Economics  4) Mathematics & Statistics  5) Sustainability collection

 

1 January 2022 - 31 December 2022

 

14. LexisAdvance

 

Lexis Advance is an innovative online research platform that allows today's legal professionals to access trusted research from LexisNexis

 

1 October 2021 – 30 June 2022

 

15. Morningstar Direct


Morningstar Direct is a web-based research platform ideal for developing, selecting, and monitoring investments, including Open End Funds, Separate Accounts, Exchange-Traded Funds, Stocks, Variable Annuity Products, Stocks and much more. Includes 375,000 information on investment.  (2 users)

 

 

1 January 2022 - 31 December 2022

 

 

16. NewsCenter


 Access to real-time online news service, including more over 200 sources of news and information sources.

 

  1 October 2021 -    30 September 2022

 

 

 

17. Passport (Euromonitor)

 

Passport is the business and global market information database produced by Euromonitor Internaitonal. Offers business intelligence reports on countries, companies, markets and consumers; it covers over 350 markets and 207 countries. Coverage:1999 to present and updated monthly.


1 January 2022 - 31 December 2022

18ProQuest Dissertations and Theses Global ProQuest Dissertations and Theses Global is an online database that indexes, abstracts, and provides full-text access to dissertations and theses. The database includes over 1.7 million records and covers 1977 to the present. 1 June 2022 - 31 May 2023


19. Regional Business News

 

 

Regional Business News provides full-text regional business publications for the United States and Canadian provinces. Users can search newspapers, magazines and other resources from trusted news sources. Reputable Resources for Your Regional News. Content includes full-text for more than 100 regional U.S. and Canadian business publications. Full-text coverage dating back to 1990.


1 January 2022 - 31 December 2022


20.Taylor & Francis - Social Sciences and Humanities


Access to full-text articles from journals published by Taylor & Francis: Social Science & Humanities Library (SSH).  Includes 1471 journals titles relating to  anthropology, archaeology & heritage;  arts & humanities; business, management & economics; criminology & law; education; geography, planning, urban & environment; library & information science; media, cultural & communication studies; mental health & social care; politics, international relations & area studies; psychology; sociology & related disciplines; sport, leisure & tourism; strategic, defence & security studies. Full text coverage: 1997-present.

 

1 January 2022 - 31 December 2022


21. Turnitin

 

Turnitin is an internet-based plagiarism detection service created by iParadigms, LLC.  It is an originality checking and plagiarism prevention service that checks your writing for citation mistakes or inappropriate copying. The results can be used to identify similarities to existing sources or can be used in formative assessment to help students learn how to avoid plagiarism and improve their writing.


1 August  2021 – 31 July 2022


22. UNWTO Elibrary

 

Access to books, journals and statisticsl reports in the area of tourism. The World Tourism Organization (UNWTO) is the United Nations agency responsible for the promotion of responsible, sustainable and universally accessible tourism.

 

1 June  2021 -  31 May 2022


23. Wiley  eJournals

 

ccess to fulltext articles from 288 academic eJournals from Wiey.   Full text available from 1997 - present.

 

1 January 2022 - 31 December 2022


24.Yomidas Rekishikan(Yomiyuri Shimbun)

 

Acccess to fulltext articles of Yomidas Rekishikan, a digital archive covering the entire history of newspaper publishing in Japan. Contents include Meiji, Taisho & Showa Eras 1874-1989, Heisei & Reiwa Eras 1986 onwards. (2 simultaneous access)

 


1 October 2021 -    30 September 2022

 

 

 

 

ชื่อมหาวิทยาลัย/สถาบัน

ห้องสมุด

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์วิทยทรัพยากร
  ห้องสมุดทันตแพทย์
  ห้องสมุดคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
  ห้องสมุดคณะเภสัชศาสตร์
  ห้องสมุดและศูนย์เอกสารสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์
  ห้องสมุดสถาบันวิจัยพลังงาน
  ห้องสมุดศูนย์เครื่องมือวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  ห้องสมุดศูนย์บรรณสารเทศทางการศึกษา คณะครุศาสตร์
  ห้องสมุดคณะศิลปกรรมศาสตร์
  ศูนยสารสนเทศทางประชากรศาสตร์
  ห้องสมุดสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ
  ห้องสมุดสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม
  ห้องสมุดคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
  ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์
  ห้องสมุดคณะวิศวกรรมศาสตร์
  ศูนย์บรรณสารสนเทศ วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี
  ห้องสมุดคณะรัฐศาสตร์
  ห้องสมุดสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร
  สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์
  ศูนย์สารสนเทศ วิทยาลัยการสาธารณสุข
  ห้องสมุดสถาบันภาษา
  ห้องสมุดคณะนิเทศศาสตร์
  ห้องสมุดคณะวิทยาศาสตร์
  ห้องสมุดคณะนิติศาสตร์

 

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  ห้องสมุดคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  ห้องสมุดพิทยาลงกรณ์
  ห้องสมุดคณะสัตวแพทยศาสตร์
  ห้องสมุดคณะอุตสาหกรรมเกษตร
  หอสมุดวิทยาเขตกำแพงแสน
  ห้องสมุดคณะสัตวแพทยศาสตร์ (กำแพงแสน)

 

มหาวิทยาลัยขอนแก่น สำนักวิทยบริการ

 

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  ห้องสมุดคณะทันตแพทยศาสตร์
  ห้องสมุดคณะเทคนิคการแพทย์
  ห้องสมุดคณะบริหารธุรกิจ
  ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์
  ห้องสมุดคณะเภสัชศาสตร์
  ห้องสมุดคณะมนุษยศาสตร์
  ห้องสมุดคณะวิจิตรศิลป์
  ห้องสมุดคณะวิทยาศาสตร์
  ห้องสมุดคณะวิศวกรรมศาสตร์
  ศูนย์วิชาการโรงเรียนสาธิต
  ห้องสมุดคณะศึกษาศาสตร์
  ห้องสมุดคณะเศรษฐศาสตร์
  ห้องสมุดสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี
  ห้องสมุดสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ
  ห้องสมุดสถาบันวิจัยสังคม
  ห้องสมุดคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
  ห้องสมุดคณะสังคมศาสตร์
  ห้องสมุดคณะสัตวแพทยศาสตร์
  ห้องสมุดคณะอุตสาหกรรมเกษตร

 

มหาวิทยาลัยทักษิณ สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยทักษิณ
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สำนักหอสมุดกลาง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สำนักหอสมุด
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ สำนักหอสมุดกลาง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนักหอสมุด
มหาวิทยาลัยนเรศวร สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยนเรศวร
มหาวิทยาลัยบูรพา สำนักหอสมุด
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สำนักวิทยบริการ

 

มหาวิทยาลัยมหิดล สำนักหอสมุด
  ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

 

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กองห้องสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา
มหาวิทยาลัยรามคำแหง สำนักหอสมุดกลาง
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา

 

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร สำนักหอสมุดกลาง
  หอสมุดมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์

 

มหาวิทยาลัย ศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ หอสมุด พระราชวังสนามจันทร์ สำนักหอสมุดกลาง
มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ หอสมุดสาขา วังท่าพระ สำนักหอสมุดกลาง
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หอสมุดคุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร
  ฝ่ายหอสมุดวิทยาศาสตร์สุขภาพ สำนักวิทยบริการ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เขตการศึกษาภูเก็ต ห้องสมุดมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เขตการศึกษาภูเก็ต
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เขตการศึกษาสุราษฎร์ธานี หอบรรณสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เขตการศึกษาตรัง ห้องสมุดเขตการศึกษาตรัง
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ฝ่ายหอสมุดจอห์น เอฟ.เคนเนดี้. สำนักวิทยบริการ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สำนักบรรณสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ สำนักบรรณสารการพัฒนา

 

      VPN

01 นักศึกษา ใช้ NetID เพื่อเข้ารับบริการ

02 อาจารย์และเจ้าหน้าที่ ใช้ user account เพื่อเข้ารับบริการ 

 สามารถโทรสอบถามรายละเอียดได้ที่เจ้าหน้าที่ Help desk   (662) 727-3777

*ดาวน์โหลด agent สำหรับใช้งาน VPN version ล่าสุด (Login ด้วย NetID เช่น username.abc@stu)

pdf  คู่มือการใช้ VPN บน Windows 10 [.pdf]

pdf  คู่มือการใช้ VPN บน Windows 10 สำหรับบุคลากร (vpnstaff.nida.ac.th) [.pdf]

pdf  คู่มือการใช้ VPN บน Windows7  [.pdf]

pdf  คู่มือการใช้ VPN บน Mac  [.pdf]

pdf  คู่มือการใช้ VPN บน iPhone/iPad  [.pdf]

pdf  คู่มือการใช้ VPN บน Android [.pdf]

 

 

     ที่อยู่ :   สำนักบริการการศึกษาและบรรณสาร  อาคารบุญชนะ  อัตถากร
                      สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 148 ถนนเสรีไทย  แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ. 10240
    โทรศัพท์ :   (+662) 727-3737 , (+662) 727-3743
    โทรสาร   :   (+662) 375-9026
     อีเมล     :   This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
    Line      :  NIDA_Library
  Facebook : NIDA Library
     ข้อมูลการโอนเงินผ่านธนาคาร :  
                     บัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์ ธนาคารกรุงเทพ สาขาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์  
                     บัญชีเลขที่  944-0-31681-9
                     ชื่อบัญชี สำนักบรรณสารการพัฒนา สพบ.
                     เมื่อโอนเงินแล้วกรุณาส่งหลักฐานหรือติดต่อมายังข้อมูลการติดต่อข้างบน

 

 

 

 

 

การเดินทาง ท่านสามารถเดินทางมานิด้าได้โดยสะดวกในหลายเส้นทาง

เดินทางโดยรถยนต์
1. มาทางถนนรามคำแหง ผ่านสี่แยกลำสาลี ถึงสามแยกบ้านม้า เลี้ยวซ้ายเข้าถนนศรีบูรพา จากนั้นเลี้ยวซ้ายที่สี่แยกนิด้า สถาบันอยู่ทางซ้ายมือ
2. มาทางถนนลาดพร้าว ผ่านตลาดบางกะปิ เข้าถนนเสรีไทย ถึงสี่แยกนิด้า สถาบันอยู่ทางขวามือ
3. มาทางถนนรามอินทรา เลี้ยวเข้าถนนนวมินทร์ หรือเสรีไทย มาทางบางกะปิ ผ่านสี่แยกนิด้า สถาบันอยู่ทางซ้ายมือ
 
ดินทางโดยรถประจำทาง
รถประจำทาง ขสมก. หมายเลข 36ก, 44, 60, 71, 134 ก, 151, ปอ. 60, ปอ. 501, ปอ. 519
รถเมโทรบัส หมายเลข ปอ.พ.3
รถมินิบัส หมายเลข 27
 
เดินทางโดยทางเรือ
คลองแสนแสบ โดยขึ้นที่ท่าวัดศรีบุญเรือง

 

สถานที่ตั้งต่างๆภายในสถาบัน