แผนภูมิแสดงการจัดหน่วยงาน

 

 

การจัดโครงสร้างสำนัก

การจัดโครงสร้างองค์กรปัจจุบัน

สำนักบรรณสารการพัฒนา จัดแบ่งโครงสร้างโดยแยกภาระงานวิชาชีพของบรรณารักษ์ / นักวิชาการออกจากงานปฏิบัติการห้องสมุด ดังนั้นจึงแบ่งงานออกเป็น  ๒  ส่วน  คือ

      ๑) กลุ่มสนับสนุนการปฏิบัติงานห้องสมุด  เป็นสายงานหลักด้านการดำเนินงานห้องสมุด กลุ่มผู้ปฏิบัติงานนี้ ประกอบด้วย กลุ่มงานเทคนิค  กลุ่มงานบริการ และกลุ่มงานจดหมายเหตุ  
      ๒) สำนักงานเลขานุการ  เป็นสายงานที่ปฏิบัติงานสนับสนุนในสายงานหลัก ประกอบด้วย กลุ่มงานบริหารและธุรการ กลุ่มงานการเงินและพัสดุ และกลุ่มงานแผนและพัฒนาองค์การ

 

กลุ่มสนับสนุนการปฏิบัติงานห้องสมุด

เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินงานและปฏิบัติงานห้องสมุดแบ่งออกเป็น ๓ กลุ่มงาน คือ กลุ่มงานเทคนิค กลุ่มงานบริการ และกลุ่มงานจดหมายเหตุ  มีขอบเขตภาระงาน  ดังนี้

๑. กลุ่มงานเทคนิค  มีขอบเขตภาระงานดังนี้

   ๑.๑ งานเตรียมข้อมูลในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ มีหน้าที่รวบรวมความต้องการทรัพยากรสารสนเทศจากแหล่งต่าง ๆ เช่น คณาอาจารย์        นักศึกษา และ Course Syllabus เป็นต้น และทำการตรวจสอบกับฐานข้อมูลว่ามีทรัพยากรสารสนเทศนั้นในห้องสมุดหรือไม่ พร้อมทั้งรวบรวมข้อมูลการใช้บริการทรัพยากรสารสนเทศนั้น เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ สำหรับทรัพยากรสารสนเทศประเภทวารสารได้มีการจัดเตรียม / สำรวจข้อมูลวารสารเพื่อการจัดหา ได้แก่ ข้อมูลสถานที่ติดต่อ ราคาบอกรับเป็นสมาชิกปีปัจจุบัน ใบสมัครสมาชิก  และติดต่อผู้จัดทำ / สำนักพิมพ์เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลก่อนการสั่งซื้อ
   ๑.๒ งานจัดเก็บ / ปรับปรุงฐานข้อมูล  มีหน้าที่จัดเก็บ / บันทึกข้อมูล / ปรับปรุงฐานข้อมูลต่าง ๆ ได้แก่ ฐานข้อมูลหนังสือ งานวิจัยและสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ  ฐานข้อมูลวารสาร ฐานข้อมูลดรรชนีวารสารไทย และฐานข้อมูลเศรษฐกิจพอเพียง
   ๑.๓ งานเตรียมทรัพยากรสารสนเทศเพื่อออกให้บริการ มีหน้าที่เตรียมและตรวจสอบความเรียบร้อยของทรัพยากรสารสนเทศเพื่อให้บริการ ได้แก่ การติดใบรองปกหนังสือ ติดบัตรกำหนดส่ง ติดบาร์โค้ด และเทปแม่เหล็ก พิมพ์ Label เลขเรียงหนังสือ ติดสันหนังสือ จัดทำรายชื่อหนังสือพร้อมส่งตัวเล่มออกให้บริการ
   ๑.๔ งานแปลงเอกสารสื่อสิ่งพิมพ์ให้อยู่ในรูปดิจิทัล มีหน้าที่จัดการสแกนหนังสือใหม่ ได้แก่หน้าปก สารบัญ และเนื้อหา 10 หน้าแรก เพื่อการเป็น e-Library และเอกสารสิ่งพิมพ์ของสถาบันที่เป็นรูปเล่มให้เป็นดิจิทัล 
   ๑.๕ งานเชื่อมโยงเอกสารฉบับเต็มกับรายการทางบรรณานุกรม มีหน้าที่เชื่อมโยงเอกสารฉบับเต็ม (Full text) กับรายการดรรชนีในฐานข้อมูลดรรชนีวารสารไทย เพื่อผู้ใช้จะได้อ่านบทความฉบับเต็มขณะสืบค้น โดยไม่ต้องหาวารสารจากชั้น
   .๖ งานวารสารเย็บเล่ม  มีหน้าที่รวบรวมและจัดเตรียมรายชื่อวารสารฉบับปลีกเพื่อส่ง เย็บเล่ม พร้อมทั้งตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของตัวเล่มวารสารเมื่อได้รับคืนจากร้านค้า  ตลอดจนจัดเตรียมวารสารที่เย็บเล่มแล้วส่งให้งานบริการเพื่อออกให้บริการต่อไป
   ๑.๗ งานอนุรักษ์และบำรุงรักษาสภาพสิ่งพิมพ์ นำสิ่งพิมพ์ที่มีคุณค่าและผ่านการออกให้บริการแก่ผู้ใช้ที่มีสภาพรูปเล่มไม่แข็งแรง ชำรุดในส่วนต่าง ๆ มาดำเนินการตามวิธีการอนุรักษ์สิ่งพิมพ์ โดยเลือกใช้วิธีให้เหมาะสมกับสภาพการชำรุดของสิ่งพิมพ์นั้น ๆ ให้กลับมีสภาพที่ดีและยืดอายุการใช้งาน สามารถนำออกให้บริการได้ต่อไป สำหรับสิ่งพิมพ์ที่จัดหามาใหม่แต่มีสภาพรูปเล่มไม่ทนทาน ดูไม่เหมาะสมก็จะดำเนินการหุ้มปกพลาสติกก่อนนำออกให้บริการ 
   ๑.๘ งานพิมพ์บันทึกข้อความที่เกี่ยวเนื่องกับงานเทคนิค ได้แก่ งานพิมพ์บันทึกส่งโสตทัศนวัสดุ งานพิมพ์บันทึกส่งคืนวารสารที่ทำดรรชนีเสร็จแล้ว และงานพิมพ์บันทึกรายชื่อวารสารที่ทางสำนักรับผิดชอบทำดรรชนีร่วมกับสำนักหอสมุด  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  เป็นต้น

๒. กลุ่มงานบริการ  มีขอบเขตภาระงานดังนี้

   ๒.๑ งานบริการยืมคืน มีหน้าที่จัดการเกี่ยวกับทะเบียนสมาชิก งานโอนข้อมูลจากฐานข้อมูลกองบริการการศึกษา  งานบัตรสมาชิก  บริการยืม-คืน  บริการจองหนังสือ  บริการหนังสือสำรองประจำวิชาและทั่วไป  บริการหนังสือสถานภาพ On Shelf  บริการหนังสือส่งถึงที่ Book Delivery Service (BDS) หนังสือสวยงาม คู่มืออาจารย์  บริการให้ยืมระหว่างห้องสมุด งานเตือนสิ่งพิมพ์ก่อนครบกำหนดส่ง งานทวงสิ่งพิมพ์ค้างส่ง  งานแจ้งหนังสือด่วนคณาจารย์  ถอนหนังสือที่หมดอายุการจอง งานปรับ  งานตรวจสอบพันธะ งานหนังสือจากตู้นอกเวลา  บริการห้องค้นคว้า  บริการขอเลข ISBN / ISSN  บริการรับ – ส่งโทรสาร รับหนังสือบริจาคและจัดทำรายชื่อส่งงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ควบคุมดูแลเสียงตามสายของสำนัก  งานควบคุมดูแลระบบทางเข้า  งานตรวจสอบความปลอดภัยเกี่ยวกับทรัพยากรสารสนเทศ  งานสถิติ
   ๒.๒ งานบริหารจัดการระบบการจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศ  มีหน้าที่จัดการตรวจรับทรัพยากรสารสนเทศใหม่ที่รับจากงานเทคนิค  บริหารจัดการระบบการจัดเก็บหนังสืออ้างอิง  หนังสือภาษาไทย และหนังสือภาษาอังกฤษ  เอกสารตำรา  งานวิจัย  วิทยานิพนธ์  ภาคนิพนธ์  เอกสาร  World Bank บทคัดย่อวิทยานิพนธ์ / งานวิจัย    สำมะโนประชากร  เอกสารการประชุม  การจัดแสดงหนังสือใหม่ / เอกสาร  World Bank จุลสาร  วารสารใหม่  จัดการวารสารฉบับปีปัจจุบัน  วารสารเย็บเล่มภาษาไทย  วารสารเย็บเล่มภาษาอังกฤษ  หนังสือพิมพ์  ให้พร้อมบริการ  งานสำรวจทรัพยากรสารสนเทศ  งานตรวจสอบ /  อ่านชั้น / ปรับขยายชั้น  ป้ายหมวดหมู่  ดูแลที่นั่งอ่าน  งานคัดออก  งานส่งซ่อม  ฝึกอบรมการจัดชั้นให้แก่เจ้าหน้าที่งานอื่น ๆ  งานสถิติ
   ๒.๓ งานบริการระหว่างห้องสมุด  มีหน้าที่รับคำขอรับบริการจากบรรณารักษ์บริการสารสนเทศ  และให้บริการระหว่างห้องสมุดทั้งในรูปแบบของเอกสารฉบับจริง  ถ่ายเอกสาร  แฟ้มข้อมูล  การสแกน  โดยวิธีมาติดต่อขอรับบริการด้วยตนเอง  ทางไปรษณีย์  โทรสาร แนบแฟ้มข้อมูลกับจดหมายไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์  (E-mail) และ  MSN โดยจะประสานงานกับร้านค้าเพื่อถ่ายเอกสารระหว่างห้องสมุด  คิดราคาค่าบริการระหว่างห้องสมุด  พิมพ์จดหมายนำส่งเอกสารระหว่างห้องสมุด  พิมพ์ใบแจ้งราคาและซอง  เก็บหลักฐานบริการถ่ายเอกสารระหว่างห้องสมุด  ประสานงานกับสำนักงานเลขานุการเรื่องการส่งเอกสารระหว่างห้องสมุดและการเงิน  งานสถิติ  
   ๒.๔ งานข้อมูลประชาสัมพันธ์  มีหน้าที่รวบรวม  เตรียมข้อมูล  และ ปรับปรุง (Update) ข้อมูลที่งานบริการต้องการประชาสัมพันธ์ให้กับผู้ใช้บริการทราบ
   ๒.๕ งานจัดอบรมที่เกี่ยวกับการใช้ห้องสมุด  มีหน้าที่เตรียมการจัดอบรมตั้งแต่เตรียมข้อมูลที่จะประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการอบรม  การรับสมัครผู้เข้าอบรม  การเชิญวิทยากร  การจัดตารางห้องอบรม  การจัดการในวันอบรม  และการรวบรวมข้อมูลในการประมวลผลส่งให้สำนักงานเลขานุการทำการประเมินผล
   ๒.๖ งานบริการวีดิทัศน์  มีหน้าที่จัดตารางการบริการวีดิทัศน์ ดูแล และควบคุมห้อง โสตวีดิทัศน์  และให้บริการวีดิทัศน์ตามตาราง

๓. กลุ่มงานจดหมายเหตุ  เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่รวบรวมประวัติบุคคลสำคัญของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ทั้งในอดีตและปัจจุบัน  รวบรวม  จัดเก็บเอกสารจดหมายเหตุ / เอกสารโสตทัศนจดหมายเหตุของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ให้เป็นระบบเพื่อสะดวกต่อการศึกษา ค้นคว้า  ความเป็นมาและพัฒนาการของสถาบัน  เพื่ออนุรักษ์เอกสารจดหมายเหตุ / เอกสารโสตทัศนจดหมายเหตุของสถาบันให้เป็นหลักฐานเชิงประวัติศาสตร์ที่ถาวร และเผยแพร่สารสนเทศจดหมายเหตุแก่หน่วยงานและบุคคลทั้งภายในและภายนอกสถาบัน
กลุ่มงานจดหมายเหตุประกอบด้วยงานย่อย  ๓  งานคือ  งานรวบรวมเอกสารจดหมายเหตุ /เอกสารโสตทัศนจดหมายเหตุ  งานจัดเก็บเอกสารจดหมายเหตุ / เอกสารโสตทัศนจดหมายเหตุ   งานบริการสารสนเทศจดหมายเหตุ  มีขอบเขตภาระงานดังนี้

   ๓.๑ งานรวบรวมเอกสารจดหมายเหตุ / เอกสารโสตทัศนจดหมายเหตุ ทำหน้าที่รับมอบเอกสารจดหมายเหตุ / เอกสารโสตทัศนจดหมายเหตุที่เกี่ยวกับประวัติ  พัฒนาการ  และการดำเนินงานของสถาบัน  ซึ่งมีลักษณะเป็นเอกสารจดหมายเหตุ ตามที่กำหนดไว้ในตารางกำหนดอายุเอกสาร
   ๓.๒ งานจัดเก็บเอกสารจดหมาย / เอกสารโสตทัศนจดหมายเหตุ  ทำหน้าที่จัดเก็บเอกสาร จดหมายเหตุ / เอกสารโสตทัศนจดหมายเหตุ  สแกนต้นฉบับเอกสารจดหมายเหตุ อนุรักษ์เอกสารจดหมายเหตุ / เอกสารโสตทัศนจดหมายเหตุตามหลักวิชาการจดหมายเหตุ  รวบรวมสารสนเทศจากเอกสารจดหมายเหตุ / เอกสารโสตทัศนจดหมายเหตุเพื่อจัดนิทรรศการ  จัดทำเอกสารประกอบนิทรรศการ  และเอกสารประชาสัมพันธ์งานจดหมายเหตุ
   ๓.๓ งานบริการสารสนเทศจดหมายเหตุของสถาบัน  ทำหน้าที่เผยแพร่สารสนเทศจดหมายเหตุแก่หน่วยงาน  และบุคคลทั้งภายในและภายนอกสถาบัน มีรายละเอียดดังนี้  คือ จัดแสดงให้คำแนะนำ / ตอบคำถามเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเอกสารจดหมายเหตุ / เอกสารโสตทัศนจดหมายเหตุ  บริการสำเนาเอกสารจดหมายเหตุ / เอกสารโสตทัศนจดหมายเหตุ  และให้บริการยืมเอกสารจดหมายเหตุ / เอกสารโสตทัศนจดหมายเหตุแก่บุคคล / หน่วยงานเจ้าของเอกสาร

 

สำนักงานเลขานุการ

เป็นหน่วยงานสนับสนุนการบริหารและการดำเนินงานห้องสมุด   มีหน้าที่รับผิดชอบบริหารและอำนวยการ  ๓  กลุ่มงาน  คือ  กลุ่มงานบริหารและธุรการ  กลุ่มงานการเงินและพัสดุ กลุ่มงานแผนและพัฒนาองค์การ  มีขอบเขตภาระงานดังนี้

๑.  กลุ่มงานบริหารและธุรการ  ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางของสำนักบรรณสารการพัฒนา ในการให้บริการและอำนวยความสะดวกแก่การดำเนินงานห้องสมุด  ซึ่งปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ  เช่นงานธุรการ  งานสารบรรณ  งานสถานที่และครุภัณฑ์  งานประชาสัมพันธ์  งานจัดการความรู้ งานบริหารความเสี่ยง  งานประเมินความพึงพอใจ  และทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการการประชุม สายสนับสนุนของสำนัก  มีขอบข่ายและภาระงานดังนี้
   .๑  งานธุรการ ทำหน้าที่ร่างโต้ตอบหนังสือ พิมพ์หนังสือ เอกสาร ทำคำสั่ง ประกาศ บันทึกต่าง ๆ ถ่ายเอกสาร เรียงหน้า เย็บเล่มเอกสาร จัดทำเอกสารประกอบการประชุม/สัมมนา จัดทำตารางการปฏิบัติงานล่วงเวลา จัดเวียนหนังสือ/เอกสารภายในสำนัก  จัดงานพิธีการต่าง ๆ ของสำนัก
   ๑.๒  งานสารบรรณ  ทำหน้าที่ในการประสานงานกับหน่วยงานต่าง  ๆ  ที่เกี่ยวข้อง  ทั้งภายในและภายนอก จัดทำทะเบียนรับ-ส่งหนังสือราชการ  จัดระบบจัดเก็บเอกสารและทำลายเอกสาร  จัดตั้งแฟ้มต่าง ๆ และเก็บรักษา/คัดกรองหนังสือและเสนอผู้บังคับบัญชา  จัดเก็บเอกสารทั้งที่เป็นตัวเอกสารและในระบบคอมพิวเตอร์  นำส่งหนังสือราชการต่าง ๆ
   .๓   งานสถานที่และครุภัณฑ์  ทำหน้าที่ในการดูแลรักษาความสะอาดบริเวณสถานที่  ครุภัณฑ์ต่าง ๆ และส่วนประกอบอาคารสถานที่ ดูแลรักษาความปลอดภัย และรักษาทรัพย์สิน ประสานงานการตกแต่งต่อเติม ปรับปรุงซ่อมแซมสถานที่ และครุภัณฑ์ต่าง ๆ ดูแลให้บริการ ห้องประชุมพร้อมอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์  ดูแลรักษาตู้รับคืนหนังสือนอกเวลาราชการ ให้บริการและอำนวยความสะดวกในกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะต้องใช้พาหนะรวมทั้งการดูแลรักษาซ่อมบำรุงให้มีสภาพใช้งานได้ตลอดเวลา
   ๑.๔   งานประชาสัมพันธ์   ทำหน้าที่รวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ ของสำนักให้เป็นที่รู้จักของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอก  ดูแลบอร์ดประชาสัมพันธ์  จัดทำโปสเตอร์งานประชุม/สัมมนาและป้ายประกาศต่าง ๆ ของสำนัก  รวมทั้ง ผลิตแผ่นพับเพื่อ การประชาสัมพันธ์ห้องสมุด
   ๑.๕   งานจัดการความรู้  มีหน้าที่จัดทำแผนงาน / โครงการและกำกับติดตามการดำเนินงานตามแผนการจัดการความรู้ของสำนัก  รวมทั้งมีหน้าที่ในการประสานและอำนวยความช่วยเหลือ  การดำเนินกิจกรรมการจัดการความรู้ของสำนักให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล
   ๑.๖  งานบริหารความเสี่ยง   มีหน้าที่จัดทำแผนงาน / โครงการ  เพื่อรองรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับการดำเนินงานของห้องสมุด  และกำกับติดตามรายงานการประเมินผลตามแผน  รวมทั้งประสานงานเพื่อให้โครงการ / กิจกรรมที่เป็นมาตรการตอบสนองความเสี่ยงสัมฤทธิ์ผล
   ๑.๗  งานประเมินความพึงพอใจ   มีหน้าที่ในการจัดทำแบบสอบถามในการประเมิน  ความพึงพอใจบริการของสำนักบรรณสารการพัฒนา   และประเมินความพึงพอใจในการอบรม พร้อมทั้งทำการประมวลผลการประเมิน

๒. กลุ่มงานการเงินและพัสดุ ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานในการบริหารและปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงิน การจัดทำบัญชีพัสดุ จัดซื้อ จัดจ้าง วัสดุ-ครุภัณฑ์ หนังสือ วารสาร และฐานข้อมูลออนไลน์ รวมทั้งบริหารการใช้จ่ายเงินของสำนัก ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล  สามารถตรวจสอบได้  และทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการกองทุนพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ  โดยมีขอบข่ายและภาระงานต่าง ๆ ดังนี้
   ๒.๑  งานการเงินและบัญชี  จัดทำบัญชีรับ  และเบิกจ่ายเงิน ทั้งเงินงบประมาณแผ่นดิน เงินงบประมาณรายได้  และเงินกองทุน ให้เป็นไปตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง  ดำเนินการเกี่ยวกับ เงินยืมทดรองราชการ  เงินรายได้สำนักและเบิกจ่ายเงินค่าล่วงเวลา  ขออนุมัติและเบิกจ่ายเงินในการไปราชการของบุคลากรในสำนัก เก็บรวบรวมหลักฐานและใบสำคัญการจ่ายเงิน ใช้เป็นหลักฐานเพื่อการตรวจสอบ รวมทั้งบริหารและควบคุมดูแลการใช้จ่ายเงินงบประมาณทุกประเภท  ติดตามและจัดทำรายงานการใช้จ่ายเงิน  และรายงานสถานะการเงินของสำนัก
   .๒  งานพัสดุ  ทำหน้าที่สำรวจความต้องการใช้พัสดุ  สืบราคา  และดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างวัสดุ-ครุภัณฑ์ หนังสือ วารสาร และฐานข้อมูลออนไลน์ จัดทำบัญชีวัสดุ ทะเบียนครุภัณฑ์ การจัดเก็บ ดูแลรักษา เบิกจ่ายวัสดุ จัดทำบัญชีการซ่อมบำรุงครุภัณฑ์ สำรวจ และจำหน่ายครุภัณฑ์ที่เสื่อมสภาพ รวมทั้งจัดทำแผนและติดตามรายงานผลการจัดซื้อ จัดจ้าง

๓. กลุ่มงานแผนและพัฒนาองค์การ  ทำหน้าที่ประสานจัดทำแผนระดับต่าง ๆ ทั้งแผนระยะยาว แผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติงานและติดตามผลการปฏิบัติงานตามแผน  จัดทำงบประมาณประเภทต่าง ๆ  งานประกันคุณภาพ  งานทรัพยากรบุคคล  สนับสนุนงานบริการทางวิชาการของสำนัก  และทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการประจำสำนักและการประชุมนักวิชาการสำนัก โดยมีรายละเอียดการปฏิบัติงานดังนี้
   ๓.๑  งานแผนและงบประมาณ  ทำหน้าที่จัดทำแผนระยะยาว  แผนกลยุทธ์  แผนปฏิบัติงาน จัดทำงบประมาณแผ่นดิน งบประมาณรายได้ และงบประมาณเงินทุนต่าง ๆ รวมทั้งติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผน
   ๓.๒  งานทรัพยากรบุคคล  ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานบริหารและพัฒนาบุคลากร รับผิดชอบในการประสานงานสรรหาบุคคล  การคัดเลือก  บรรจุ โอนย้าย  เลื่อนขั้น  เลื่อนตำแหน่ง  ขอตำแหน่งชำนาญการ  จัดทำทะเบียนประวัติ  จัดสวัสดิการและพัฒนาบุคลากร  จัดอบรม / สัมมนาบุคลากรประจำปี  ดำเนินการเกี่ยวกับการลา  การขออนุมัติตัวบุคคล  เพื่ออบรม / สัมมนา / ดูงาน รวมทั้งจัดทำแผนอัตรากำลัง และแผนพัฒนาบุคลากร
   ๓.๓  งานประกันคุณภาพ  ทำหน้าที่เป็นเลขานุการในการพัฒนามาตรฐาน และจัดระบบการประกันคุณภาพห้องสมุด จัดเก็บรวบรวมข้อมูล และสารสนเทศการประกันคุณภาพ จัดทำรายงานการประเมินตนเอง  ศึกษาวิเคราะห์ จุดอ่อน จุดแข็ง และแนวทางเสริมจุดแข็ง และแก้ไขจุดอ่อน ติดตามการดำเนินงานเพื่อแก้ไขจุดอ่อน ประสานงานบันทึกข้อมูลลงระบบสารสนเทศประกันคุณภาพของสถาบัน (QAIS) และตรวจสอบข้อมูลในระบบ รวมทั้งรับผิดชอบติดตามตัวชี้วัดของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ที่สำนักรับผิดชอบ
   ๓.๔   งานบริการทางวิชาการ  ทำหน้าที่สนับสนุนงานบริการทางวิชาการของสำนัก  เช่นการเยี่ยมชมศึกษาดูงาน การฝึกงานของนักศึกษา การจัดฝึกอบรม และการประสานงาน  เพื่อการบริการวิชาการอื่น ๆ