Uncategorised

  เฉลยคำตอบ อัตนัย "กิจกรรมตอบปัญหาวิชาการ พลิกฟื้นคืนประวัติศาสตร์ ขบวนการเสรีไทย"

 

1. ญี่ปุ่นยกทัพเข้าประเทศไทย เวลา/วันที่เท่าไร เข้ามากี่ทาง ที่ไหนบ้าง และปฏิกิริยาของไทยเป็นอย่างไร ?
ตอบ. ญี่ปุ่นยกทัพเข้าประเทศไทย เวลา 2.00 น. วันที่ 8 ธันวาคม 2484 ยกเข้ามา 9 ทาง คือ ทางทะเลเขตจังหวัด (บางปู)/สมุทรปราการ ประจวบคิรีขันธ์ ชุมพร (บ้านดอน)/สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา และปัตตานี ทางบกที่ พระตะบอง และพิบูลสงคราม ทางทหาร ตารวจ ยุวชนทหาร และพลเรือนที่อยู่ในพื้นที่ได้ทาการต่อต้านผู้รุกรานอย่างดุเดือด กล้าหาญ และเหนียวแน่น โดยพลีชีพเพื่อชาติ และได้รับบาดเจ็บจานวนหลายร้อยคน จนกระทั่งได้รับคาสั่งให้หยุดยิงจากรัฐบาล
2. “องค์การต่อต้านญี่ปุ่น” จัดตั้งในวันที่เท่าไร มีภารกิจอะไรบ้าง ?
ตอบ. “องค์การต่อต้านญี่ปุ่น” จัดตั้งวันที่ 8 ธันวาคม 2484 มีภารกิจที่ต้องปฏิบัติ 2 ด้าน คือ 1. ต่อสู้ญี่ปุ่นผู้รุกรานโดยพลังของตนไทยผู้รักชาติและร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร 2. ปฏิบัติการเพื่อให้สัมพันธมิตรรับรองว่าเจตนารมณ์อันแท้จริงของคนไทยนั้นไม่เป็นศัตรูต่อสัมพันธมิตร ต่อเมื่อรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ประกาศสงครามและก่อสถานะสงครามต่อสัมพันธมิตรแล้ว ภารกิจขององค์การจึ้งเพิ่มขึ้นเป็น 3. การปฏิบัติเพื่อให้สัมพันธมิตรรับรองว่าประเทศไทยจะไม่ตกเป็นฝ่ายแพ้สงคราม และการผ่อนหนักเป็นเบาเมื่อสงครามยุติ
3. การปฏิบัติภารกิจของขบวนการเสรีไทยเรียกว่าอะไร และปฏิบัติการอย่างไร ?
ตอบ. การปฏิบัติภารกิจของขบวนการเสรีไทยเรียก “ แนวที่ 5” เป็นการปฏิบัติราชการลับหลังแนวรบศัตรู ได้แก่ หาข่าวกรอง การก่อวินาศกรรม และการประสานงานกับขบวนการใต้ดินในประเทศ
4. คณูปการของขบวนการเสรีไทยคืออะไรบ้าง ?
ตอบ. ประเทศไทยไม่เป็นผู้แพ้สงคราม รัฐบาลไทยไม่ต้องยอมจานน กองทัพไทยไม่ต้องวางอาวุธ ดินแดนไทยไม่ต้องถูกยึดครอง
5. ประกาศสันติภาพ มีใจความสาคัญว่าอย่างไร ?

 

ตอบ. ใจความสาคัญว่า “ การประกาศสงครามเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2485 ต่อบริเตนใหญ่และสหรัฐอเมริกา ตลอดทั้งการกระทาทั้งหลายซึ่งเป็นปรปักษ์ต่อสหประชาชาตินั้น เป็นการกระทาอันผิดจากเจตน์จานงของประชาชนชาวไทย และฝ่าฝืนขัดต่อบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมายบ้านเมือง การประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกาและบริเตนใหญ่ เป็นโมฆะไม่ผูกพันธ์ประชาชนชาวไทย
  เฉลยคำตอบ ปรนัย"กิจกรรมตอบปัญหาวิชาการ พลิกฟื้นคืนประวัติศาสตร์ ขบวนการเสรีไทย"

 

 

 

การบริการยืมระหว่างห้องสมุด(Inter-Library Loan (ILL))

 

           เพื่ออำนวยความสะดวกในการศึกษาค้นคว้า และวิจัย กรณีที่ไม่มีทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการในสำนักบรรณสารการพัฒนา แต่มีความจำเป็นต้องใช้เร่งด่วน จัดหาไม่ทันกับความต้องการ หรือเป็นทรัพยากรในสาขาอื่นที่ไม่จำเป็นต้องจัดหาเข้าห้องสมุด เพื่อประหยัดงบประมาณในการจัดหา สามารถขอยืมจากห้องสมุดอื่นแทน สำนักจึงจัดให้มีบริการยืมหนังสือระหว่างห้องสมุดภายในประเทศ โดยผู้ใช้สามารถเลือกใช้บริการนี้

 

ผู้มีสิทธิใช้บริการ: นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ทรัพยากรที่ขอยืมระหว่างห้องสมุด: ทรัพยากรประเภทสิ่งพิมพ์ / อิเล็กทรอนิกส์ เช่น หนังสือ บทความวารสาร วิทยานิพนธ์ และงานวิจัยต่าง ๆ ซึ่งไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์และอนุญาตให้ยืมระหว่างห้องสมุดได้

วิธีการขอรับบริการ

  1. ติดต่อเคาน์เตอร์บริการสารสนเทศ ชั้น 2
  2. กรอกแบบฟอร์มเพื่อขอใช้บริการยืมระหว่างห้องสมุด
  3. ส่งแบบฟอร์มให้กับบรรณารักษ์เพื่อดำเนินการต่อไป

หรือ  แจ้งความจำนง พร้อมระบุรายละเอียดความต้องการได้ที่อีเมล์This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ทั้งนี้ ผู้ขอรับบริการสามารถถือแบบฟอร์มการยืมระหว่างห้องสมุดไปติดต่อขอยืม และคืนฉบับจริงได้ที่ห้องสมุดนั้น ๆ ได้ด้วยตนเอง หรือ ขอให้บรรณารักษ์ดำเนินการติดต่อประสานงานให้จนได้ทรัพยากรที่ต้องการ

จำนวนที่ให้ยืม: ไม่เกิน 3เล่ม/คน/ครั้ง

ระยะเวลาดำเนินการ: ภายใน 7วันทำการ นับจากได้รับคำขอ

รูปแบบทรัพยากรให้บริการ: ตัวเล่มฉบับจริง หรือ ไฟล์อิเล็กทรอนิกส์หรือขอทำสำเนาหนังสือในรูปแบบฉบับพิมพ์ หรือ ไฟล์ดิจิทัล

ค่าบริการ: เป็นไปตามอัตราค่าบริการที่ห้องสมุดผู้ให้บริการแจ้ง และเพิ่มค่าดำเนินการ 50 บาทต่อการขอหนึ่งครั้ง

การขอยืมหนังสือฉบับจริง

ผู้ใช้สามารถขอยืมหนังสือได้สูงสุด 3 รายการต่อการขอใช้บริการหนึ่งครั้ง 

จำนวนวันที่สามารถยืมได้ขึ้นอยู่กับนโยบายของห้องสมุดหรือหน่วยงานเจ้าของหนังสือ

การขอทำสำเนาในรูปแบบฉบับพิมพ์หรือไฟล์ดิจิทัล

ผู้ใช้ต้องรับผิดชอบต่อค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้น เช่น ค่าทำสำเนา ค่าจัดส่งไปรษณีย์  เป็นต้น

กรณีที่ต้องการทำสำเนาในรูปแบบไฟล์ดิจิทัล ผู้ใช้ต้องเสียค่าบริการ ดังนี้ งานวิจัย 100 บาท ต่อหนึ่งเรื่องบทความ 50 บาท ต่อหนึ่งบทความ

 

คู่มือการบริการระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐพ.ศ.2559

เนื้อหาอื่นๆ...